พระประวัติ ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ มีพระนามเดิมว่า พระเจ้าลูกยาเธอ พระองค์เจ้าเกษมศรีศุภโยค เป็นพระราชโอรสลำดับที่ 30 ในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาจันทร์ พระสนมเอก เมื่อวันจันทร์ เดือน 9 แรม 12 ค่ำ ปีมะเส็ง นพศก จ.ศ. 1219 ตรงกับวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2400

เมื่อพระชันษาครบอุปสมบท ทรงผนวชที่วัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในสำนักสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาปวเรศวริยาลงกรณ์ แล้วเสด็จไปจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร 1 พรรษา ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นพระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นทิวากรวงษประวัติ ทรงศักดินา 15000 เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2439[6] และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้กำกับกรมช่างมุก 

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติทรงรับราชการด้านใหญ่ เช่น ทำการปฏิสังขรณ์วัดพระศรีรัตนศาสดาราม และทรงรับราชการตำแหน่งอธิบดีกรมราชพัสดุ ในกระทรวงพระคลังมหาสมบัติ แต่ทรงปฏิบัติได้ไม่นาน เนื่องจากประชวรพระโรคภายในจึงกราบถวายบังคมลาออกจากราชการประจำ คงรับแต่ราชการจรเป็นครั้งคราว ต่อมาทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นองคมนตรี เมื่อพ.ศ. 2430 เป็นกรรมสัมปาทิกหอพระสมุดวชิรญาณ ชุดที่ 3 และได้รับพระราชทานเครื่องขัตติยราชอิสริยาภรณ์อันมีเกียรติคุณรุ่งเรืองยิ่งมหาจักรีบรมราชวงศ์ ทุติยจุลจอมเกล้าวิเศษ จุลสุราภรณ์ มงกุฎสยาม และเหรียญรัตนาภรณ์รัชกาลที่ 4 ชั้นที่ 2

นอกจากทรงงานประจำและงานจรที่ทรงปฏิบัติแล้ว ยังมีงานอดิเรกที่ทรงรักและทรงอัจฉริยภาพอย่างยิ่ง ได้แก่

  • การละคร ทรงถนัดทั้งแบบละครเก่าและละครใหม่ ทรงแสดงละครทั้งละครพูดและละครร้อง เช่น โจร 40 ผัวกลัวเมีย และนิทราชาคริต
  • การดนตรี โปรดการเล่นซอสามสายและระนาด  ทรงจัดตั้งวงมโหรีปี่พาทย์ที่มีชื่อเสียงโดดเด่นในสมัยรัชกาลที่ 5
  • การเล่นกล้วยไม้ ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่า ทรงเป็นคนไทยคนแรกที่รู้จักเลี้ยงกล้วยไม้อย่างประณีต จนในที่สุดก็ทรงเพาะพันธุ์ไม้ขึ้นได้สำเร็จ เช่น แคทลียาชื่อ "ทิวากาเรียนา"

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ ประชวรพระโรคบังคนเบาพิการ สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2458 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2459) ณ วังถนนขาวสามเสน สิริพระชันษา 59 ปี พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จฯ มาพระราชทานน้ำสรงพระศพ เจ้าพนักงานเชิญพระศพลงในพระลอง ตั้งบนแว่นฟ้า 2 ชั้น ประกอบพระโกศมณฑป และโปรดให้ข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วัน[7] ได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ พระเมรุวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2459[2]

ใกล้เคียง

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงราชบุรีดิเรกฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพชรอัครโยธิน พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทบุรีนฤนาถ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงประจักษ์ศิลปาคม พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงนครไชยศรีสุรเดช พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนเรศรวรฤทธิ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระนราธิปประพันธ์พงศ์ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมขุนสุพรรณภาควดี

แหล่งที่มา

WikiPedia: พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2455/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2434/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2458/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2430/00... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2453/D/... http://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2439/03... https://web.archive.org/web/20190605030310/http://... https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1018405.p... https://ratchakitcha.soc.go.th/documents/1013539.p...